นายชาญศิลป์ ส่งเสริม
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
ผู้อำนวยการโรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์)
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1
สถานศึกษาที่จัดการศึกษาขั้นพื้นฐาน
ระดับปฐมวัย
ระดับประถมศึกษา
1. ภาระงาน ด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการ ด้านการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านการบริหารการเปลี่ยนแปลงเชิงกลยุทธ์นวัตกรรม ด้านการบริหารงานชุมชนและเครือข่ายและด้านการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ เป็นไปตาม ก.ค.ศ กำหนด
เต็มเวลา
โดยมีภาระงานด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นําทางวิชาการ มีการปฏิบัติการสอนไม่ต่ํากว่า 5 ชั่วโมง/สัปดาห์
ปฏิบัติการสอนประจำวิชาจำนวน - ชั่วโมง/สัปดาห์
ปฏิบัติการสอนร่วมกับครูประจำชั้น/ประจำวิชา จำนวน - ชั่วโมง/สัปดาห์
สังเกตการสอนและสะท้อนผลการสอนร่วมกับครูในกิจกรรมเปิดชั้นเรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
เป็นผู้นำกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (PLC) ของโรงเรียน จำนวน 2 ชั่วโมง/สัปดาห์
นิเทศการสอนเพื่อเป็นพี่เลี้ยงการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ให้กับครู จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
จัดกิจกรรมเสริมสร้างการเรียนรู้และอบรมบ่มนิสัยผู้เรียน จำนวน 1 ชั่วโมง/สัปดาห์
2. งานที่จะปฏิบัติตามมาตรฐานตําแหน่งผู้บริหารสถานศึกษา
ลักษณะงานที่เสนอให้ครอบคลุมถึงการวางแผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน การจัดทําและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา การพัฒนากระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ และการปฏิบัติการสอน การส่งเสริม สนับสนุนการพัฒนาหรือการนําสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา มาใช้ในการจัดการเรียนรู้การนิเทศ กํากับติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาและมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา การศึกษา วิเคราะห์ หรือวิจัย เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
1.1 การวางแผนพัฒนามาตรฐานการเรียนรู้ของผู้เรียน
จัดทำแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาที่สอดคล้องกับนโยบายของกระทรวงศึกษาธิการสำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษานครพนม เขต 1 โดยคำนึงถึงบริบทของสถานศึกษาและความต้องการจำเป็นของผู้เรียนและผู้เกี่ยวข้องโดยนำผลการประเมินการปฏิบัติงานมาใช้เป็นข้อมูลในการวางแผนการดำเนินการ
ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นำทางวิชาการ มีแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษาที่ดำเนินการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนให้มีความรู้ ทักษะ คุณลักษณะอันพึงประสงค์ และสมรรถนะสำคัญที่กำหนดตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน และ สามารถเป็นแบบอย่างได้
ประสิทธิภาพของการดำเนินงานตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา อยู่ในระดับดีขึ้นไปและมีผลการดำเนินการบรรลุตามค่าเป้าหมายที่สถานศึกษากำหนดไว้รวมทั้งมีผลการประเมินมาตรฐานการศึกษาอยู่ในระดับดี
มีวิธีปฏิบัติที่ดี/นวัตกรรมในด้านการบริหารวิชาการและความเป็นผู้นำทางวิชาการที่สามารถเป็นแบบอย่างได้
1.2 การจัดทําและพัฒนาหลักสูตรสถานศึกษา
พัฒนาและปรับปรุงหลักสูตรสถานศึกษา ให้มีความทันสมัย สอดคล้องกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น และจัดให้มีการประเมินผลการใช้หลักสูตรและนำเสนอผลการประเมินต่อผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง และนำผลมาปรับปรุงพัฒนาหลักสูตรต่อไป
มีหลักสูตรสถานศึกษาที่สามารถพัฒนาผู้เรียนได้ตรงกับความต้องการของผู้เรียนและท้องถิ่น
ผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ร้อยละ 90 มีความพึงพอใจกับหลักสูตรสถานศึกษา และนำหลักสูตรสถานศึกษาไปใช้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
1.3 การพัฒนาระบวนการจัดการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสําคัญ
พัฒนาระบบการนิเทศภายในให้มีประสิทธิภาพเพื่อส่งเสริม สนับสนุนการจัดการเรียนรู้ที่ผู้เรียนเป็นสำคัญ
มีระบบการนิเทศภายในที่มีประสิทธิภาพ
ครู ร้อยละ 90 มีระบบการบริหารจัดการชั้นเรียนที่มีประสิทธิภาพ
ครู ร้อยละ 90 จัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญใช้เครื่องมือในการวัดประเมินที่หลากหลายและนำไปสู่การปรับปรุงพัฒนาการจัดการเรียนรู้
1.4 การส่งเสริมสนับสนุนการพัฒนาหรือการนําสื่อ นวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ดำเนินการส่งเสริม สนับสนุน ให้ครูมีการพัฒนาหรือการนำสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ครู มีการพัฒนาหรือการนำสื่อนวัตกรรม และเทคโนโลยีทางการศึกษามาใช้ในการจัดการเรียนรู้
ครู ร้อยละ 90 จัดทำรายงานการใช้/การพัฒนาสื่อ นวัตกรรมและเทคโนโลยีทางการศึกษา
1.5 การนิเทศ กํากับ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษา และมีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา
ดำเนินการนิเทศ กำกับ ติดตาม ประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครูในสถานศึกษาและสะท้อนผลการนิเทศด้วยกระบวนการ PLC
มีคู่มือนิเทศ กํากับ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้ของครู โดยมีการริเริ่ม พัฒนา ส่งเสริมกระบวนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
มีคู่มือการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา และดำเนินการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษาอย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการนิเทศ กํากับ ติดตามและประเมินผลการจัด การเรียนรู้ของครู อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง (การนิเทศภายใน)
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา อย่างเป็นระบบและต่อเนื่อง ส่งผลให้การประเมินตนเองของสถานศึกษา โดยรวมไม่ต่ํากว่าระดับดี (ระบบประกันคุณภาพภายใน)
1.6 การศึกษา วิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษา
นำผลจากการนิเทศ ติดตามและประเมินผลการจัดการเรียนรู้มาใช้สำหรับการปรับปรุง/พัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
1. ผู้บริหารสถานศึกษาเป็นผู้นํา PLC ในกระบวนการพัฒนาการสอนของครู
2. ครูได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้วิธีการสอนหรือการทํางานร่วมกัน และนําผลไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษา
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีชั่วโมง PLC ในกระบวนการพัฒนาการสอนของครูอย่างน้อยสัปดาห์ละ 1 ชั่วโมง
2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีวิจัยที่เป็นการศึกษาวิเคราะห์ เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนา การจัดการเรียนรู้เพื่อยกระดับคุณภาพการศึกษาของสถานศึกษาอย่างน้อยคนละ 1 เรื่อง
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู นําผลไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการจัดการเรียนรู้ของสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ นโยบายและตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี การบริหารกิจการผู้เรียน และการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
2.1 การบริหารจัดการสถานศึกษาให้เป็นไปตามกฎหมาย ระเบียบข้อบังคับ นโยบาย และตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม "พนมวิทยาคาร" มีการวิเคราะห์และออกแบบกระบวนการทํางานอย่างเป็นระบบ มีขั้นตอนและวิธีปฏิบัติชัดเจน
2. ครูและบุคลากรทางการศึกษาได้รับการมอบหมายงานให้รับผิดชอบโดยคํานึงถึงความรู้ความสามารถ และความความต้องการของสถานศึกษา
3. ผู้บริหารสถานศึกษา มีการพัฒนาคุณภาพของระบบการทางานอย่างต่อเนื่อง
4. โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม "พนมวิทยาคาร" มีระบบการทํางานที่มีความยั่งยืน
5. โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม "พนมวิทยาคาร" มีการนํานวัตกรรมหรือเครื่องมือบริหารจัดการมาประยุกต์ใช้ในการทํางานของสถานศึกษาให้มีลักษณะเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้
6. ผู้เรียน ผู้ปกครอง และชุมชน ได้รับการส่งเสริมให้มีส่วนร่วมในการพัฒนา
7. ผู้บริหารสถานศึกษาติดตาม ประเมินผลการพัฒนา มีรายงานผลการพัฒนาและนำาผลไปปรับปรุง
1. โรงเรียนอนุบาลวัดพระธาตุพนม "พนมวิทยาคาร" มีคู่มือการบริหารจัดการสถานศึกษา ด้านงานวิชาการ ด้านการบริหารงานบุคคล ด้านงบประมาณ ด้านบริหารทั่วไป และมีคําสั่งมอบหมายงานบริหารจัดการสถานศึกษาตามหลักบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (แผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา) (แผนปฏิบัติการประจำปี) (คู่มือการปฏิบัติงาน 4 กลุ่มงาน) (คำสั่งมอบหมายงาน)
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการจัดองค์กร โครงสร้างและระบบการบริหารงานที่มีความคล่องตัวสูงและปรับเปลี่ยนได้เหมาะสมตามสถานการณ์ (โครงสร้างการบริหารงาน)
3. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการจัดการข้อมูลสารสนเทศอย่างครอบคลุมและทันต่อการใช้งาน (เว็บไซต์โรงเรียน) (ระบบงานธุรการ)
4. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง(พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีระบบการประกันคุณภาพภายในที่ดําเนินงานอย่างต่อเนื่อง (ระบบประกันคุณภาพภายใน)
5. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม และพัฒนาบุคลากรอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องร้อยละ 80 (รายงานการพัฒนาตนเองของบุคลากร) (รายงานการได้รับรางวัลของบุคลากร)
6. ผู้บริหารสถานศึกษาบริหารจัดการการศึกษาให้บรรลุเป้าหมายตามที่กําหนดไว้ในแผนปฏิบัติการร้อยละ 90 (แผนปฏิบัติการประจำปี)
7. ครู ร้อยละ 100 มีแผนพัฒนาเป็นรายบุคคล (ID-Plan) ตรงตามข้อมูลความจําเป็นของสถานศึกษา (รายงานการเสนอ ID-Plan)
8. ครูได้รับการส่งเสริมให้เข้าศึกษา ฝึกอบรม ดูงานปฏิบัติงานวิจัยและพัฒนา (รายงานการพัฒนาตนเองของบุคลากร)
2.2 การบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน เป็นระบบ มีความชัดเจนและไปถึงได้
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีวิธีการในการสร้างเครือข่ายความร่วมมือและสถานศึกษาได้รับประโยชน์จากเครือข่ายความร่วมมือการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียน
3. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีระบบการทํางานเน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ในการพัฒนาคุณภาพสถานศึกษา
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ได้กำหนด เกี่ยวกับการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนบรรลุผลสําเร็จตามเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
2. ครูมีแผนการจัดการเรียนรู้สอดคล้องกับการพัฒนาผู้เรียนตามศักยภาพและสนองผลการเรียนรู้ที่คาดหวังของหลักสูตร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ติดตามและประเมินผล การบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง และมีรายงานผลการดําเนินงานและนําผลไปปรับปรุงไม่น้อยกว่าร้อยละ 90
4. ผู้เรียนได้รับการพัฒนาสมรรถนะสําคัญของผู้เรียนทั้ง 5 ด้าน (ความสามารถในการสื่อสาร ความสามารถ ในการคิดความสามารถ ในการแก้ปัญหา ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต ความสามารถในการใช้เทคโนโลยี) มีผลการประเมินสมรรถนะผู้เรียน ทุกด้าน สูงกว่าร้อยละ 80
5. การประเมินผลการดําเนินการบริหารกิจการผู้เรียนและการส่งเสริมพัฒนาผู้เรียนผู้เรียนครู ผู้ปกครองและชุมชน มีความพึงพอใจต่อการดำเนินการของสถานศึกษา ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (รายงานผลการประเมินความพึงพอใจ)
2.3 การจัดระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีคู่มือระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนที่นําไปใช้ได้จริงทําให้การจัดและพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียนเข้มแข็งและทั่วถึง
2. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู ดําเนินการตามระบบดูแลช่วยเหลืออย่างต่อเนื่อง เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาผู้เรียน ให้มีโอกาส ความเสมอภาคและลดความเหลื่อมล้ําทางการศึกษา
1. ครู ดําเนินงานตามระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน)
2. ผลการพัฒนาคุณภาพผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน ลดจํานวนผู้เรียนกลุ่มเสี่ยงและกลุ่มที่มีปัญหาในระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 50 (ระบบดูแลช่วยเหลือผู้เรียน)
เชิงกลยุทธ์และนวัตกรรม การกําหนดนโยบาย กลยุทธ์การใช้ เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร และการนําไปปฏิบัติการบริหารการ เปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
3.1 การกําหนดนโยบายกลยุทธ์ การใช้เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีแผนพัฒนาการศึกษา กลยุทธ์ เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ที่มุ่งผลลัพธ์ผู้เรียนเป็นสําคัญมุ่งคุณภาพหลักสูตรและคุณภาพผู้เรียน มุ่งพัฒนาสมรรถนะของครู และผู้เรียน มุ่งพัฒนาระบบและกระบวนการทํางาน
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีรูปแบบหรือนวัตกรรมทางการบริหารเพื่อพัฒนาสถานศึกษา นําไปปฏิบัติได้จริง
1. ผู้บริหารสถานศึกษา มีการบริหารจัดการสถานศึกษา โดยมีกลยุทธ์เครื่องมือ หรือนวัตกรรมทางการบริหารเชิงรุกในการริเริ่ม พัฒนาสถานศึกษาและคุณภาพผู้เรียน อย่างน้อย 1 เรื่อง (นวัตกรรมทางการบริหารจัดการสถานศึกษา)
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง(พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีแผนปฏิบัติการ สอดคล้องกับมาตรฐาน ภาระงานบริหารโดยคํานึงถึงประโยชน์และความคุ้มค่าและมีการนําไปปฏิบัติจริงบรรลุผลตามเป้าหมายไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (แผนการบริหารงาน)
3. ผู้บริหารสถานศึกษาเผยแพร่นวัตกรรมการบริหาร ให้กับสถานศึกษาใกล้เคียงไม่น้อยกว่า 3 แห่ง
4. ผู้บริหารสถานศึกษามีการติดตาม และประเมินผลการใช้นวัตกรรมการบริหาร ปีการศึกษาละ 1 ครั้งและมีรายงานผลและนําผลไปปรับปรุง
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนครู ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อกลยุทธ์ เครื่องมือหรือนวัตกรรมทางการบริหาร ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
3.2 การบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาเพื่อพัฒนาสถานศึกษา
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสถานศึกษา โดยสร้างหรือนํานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียน
2. ผู้เรียนได้รับการส่งเสริมในด้านการเรียนรู้พัฒนาการ คุณลักษณะที่พึงประสงค์สุขภาวะ หรือความเป็นอยู่ของผู้เรียนได้ตรงจุด หรือตรงกับความต้องการจําเป็นของผู้เรียน
1. ผู้บริหารสถานศึกษา มีการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษา เพื่อแก้ปัญหาและพัฒนาสถานศึกษา โดยสร้างหรือนํานวัตกรรมเทคโนโลยีดิจิทัลมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียนอย่างน้อย 1 เรื่อง
2. ผู้บริหารสถานศึกษาส่งเสริม สนับสนุนสร้างการมีส่วนร่วมอย่างน้อย 1 เครือข่ายในการบริหารการเปลี่ยนแปลงและนวัตกรรมในสถานศึกษาให้เกิดการพัฒนาสถานศึกษาอย่างยั่งยืน
3. ผู้บริหารสถานศึกษาติดตามและประเมินผล การนานวัตกรรม เทคโนโลยีดิจิทัล มาใช้ในการพัฒนาสถานศึกษาและผู้เรียนภาคเรียนละ 1 ครั้ง และมีรายงานผลการดําเนินงานและนําผลไปปรับปรุง
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนครู ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อในการบริหารการเปลี่ยนแปลง และนวัตกรรมในสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ การจัดระบบการบริการในสถานศึกษา
4.2 การจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา โดยผู้ริหารสถานศึกษา ริเริ่ม พัฒนาประสานความร่วมมือกับชุมชน และเครือข่ายในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษา
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีสารสนเทศและแผนปฏิบัติการเกี่ยวกับการให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสาจัดทํามาตรฐานภาระงานการให้บริการและงานสัมพันธ์ชุมชน โดยเน้นเป็นระบบถูกต้อง สะดวก และทั่วถึง
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีการเชื่อมโยงและแลกเปลี่ยนข้อมูลกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาในท้องถิ่นในการจัดทําข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับแหล่งเรียนรู้และภูมิปัญญาท้องถิ่น
4. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) เป็นแหล่งวิทยาการในการแสวงหาความรู้และบริการชุมชน โดยมีการจัดข้อมูลพื้นฐานการเป็นแหล่งวิทยาการของสถานศึกษา มีแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมการให้ความรู้ และการให้บริการชุมชทั้งด้านวิชาการ อาคารสถานที่และอื่นๆ
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษา โดยริเริ่มพัฒนา ประสานความร่วมมือกับชุมชน และเครือข่ายในการระดมทรัพยากรเพื่อการศึกษาให้บริการด้านวิชาการแก่ชุมชน และงานจิตอาสา มีเครือข่าย อย่างน้อย 1 เครือข่าย ในการร่วมมือพัฒนาคุณภาพการศึกษาให้แก่ผู้เรียน สถานศึกษาและชุมชน และเสริมสร้างวัฒนธรรมท้องถิ่น (รายงานการให้บริการ) (รายงานการระดมทรัพยากรเพื่อการพัฒนาคุณภาพการศึกษา) (คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) (เครือข่ายผู้ปกครองนักเรียน)
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) เป็นแหล่งวิทยาการในการแสวงหาความรู้และบริการชุมชน โดยมีการจัดข้อมูลพื้นฐานการเป็นแหล่งวิทยาการของสถานศึกษามีแผนงาน/โครงการ /กิจกรรมการให้ความรู้ และการให้บริการชุมชนทั้งด้านวิชาการ อาคารสถานที่และอื่นๆ ดําเนินการได้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 70 ของแผนงานที่กําหนด (รายงานการให้บริการวิทยาการวิชาการ)
3. ผู้บริหารสถานศึกษาและครู มีการกํากับ ควบคุมติดตามการดําเนินการภาคเรียนละ 1 ครั้ง ให้เป็นไปตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่กําหนด
4. การประเมินผลการดำเนินงานและการให้บริการ มีร่องรอยของการปรับปรุง พัฒนา มีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน ภาคเรียนละ 1 ครั้ง
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อการจัดระบบการให้บริการในสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (รายงานการประเมินความพึงพอใจต่อการให้บริการ)
4.1 การสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีการสร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ เน้นการมีส่วนร่วมของผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย และสถานศึกษาได้รับประโยชน์จากเครือข่ายความร่วมมือ
2. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน โดยเน้นการมีส่วนร่วมของผู้เกี่ยวข้อง
3. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกข้อเพิ่มขึ้น หรือมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี - ดีเยี่ยม โดยคำนวณจากผู้เรียนทั้งหมด
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีบันทึกข้อตกลง (MOU) สร้างและพัฒนาเครือข่ายเพื่อพัฒนาการเรียนรู้ อย่างน้อย 1 เครือข่าย (เครือข่ายนวัตกรรมคุณภาพสถานศึกษา)
2. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) ดำเนินการตามแผนงาน/โครงการ/กิจกรรมที่ได้กำหนด เกี่ยวกับการเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือ และพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน บรรลุผลสำเร็จตามเป้าหมาย ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (โครงการโรงเรียนวิถีพุทธ) (โครงการโรงเรียนคุณธรรม) (โครงการโรงเรียนสุจริต) (รายงานการประเมินอัตลักษณ์ของสถานศึกษา) (รายงานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์)
3. ผู้บริหารสถานศึกษา และครู เสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนได้ตามแผนที่กำหนดไว้ไม่น้อยกว่าร้อยละ 90 (รายงานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์)
4. ผู้เรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามหลักสูตรสถานศึกษาทุกข้อเพิ่มขึ้น หรือมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับดี – ดีเยี่ยม ร้อยละ 80 ขึ้นไป (รายงานการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์)
5. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชนที่มีต่อเสริมสร้างคุณธรรม จริยธรรม ช่วยเหลือและพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียนไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
การพัฒนาตนเองและวิชาชีพการนําความรู้ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียนครู และสถานศึกษา
5.1 การพัฒนาตนเองและวิชาชีพ
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. ครูได้รับการขยายผลการศึกษาค้นคว้าหาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและวิชาชีพอย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษ เพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพและนําไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้
2. ครูได้รับการขยายผลการประมวลความรู้ในวิชาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการ งบประมาณบุคลากร บริหารทั่วไป และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากผู้บริหารสถานศึกษา ซึ่งรวบรวมจากผลการพัฒนาตนเองและจากแหล่งความรู้ต่างๆ ที่เชื่อถือได้ และมีการปรับปรุงเนื้อหาสาระให้ทันสมัย และครูนําไปประยุกต์ใช้ในการดําเนินงานของสถานศึกษา
3. ผู้บริหารสถานศึกษา มีส่วนร่วมและเป็นผู้นําในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ทางวิชาชีพ
1. ครูได้รับการขยายผลการศึกษาค้นคว้า หาความรู้เพื่อการพัฒนาตนเองและวิชาชีพ อย่างเป็นระบบและต่อเนื่องจากผู้บริหารสถานศึกษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งการใช้ภาษาไทยและภาษาอังกฤษเพื่อการสื่อสาร และการใช้เทคโนโลยีดิจิทัลเพื่อการศึกษา สมรรถนะทางวิชาชีพ และนําไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนรู้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ80
2. ครูได้รับการขยายผลการประมวลความรู้ในวิชาชีพที่เกี่ยวกับการบริหารจัดการสถานศึกษาด้านวิชาการ งบประมาณบุคลากร บริหารทั่วไป และกฎหมายที่เกี่ยวข้องจากผู้บริหารสถานศึกษา และนําไปประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
5.2 การนําความรู้ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาใช้ในการพัฒนา การบริหารจัดการสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษา
(แหล่งข้อมูลอ้างอิง)
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีคู่มือการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาที่ใช้ได้จริง ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาโดยผู้บริหาร สถานศึกษามีการนำความรู้ ทักษะ และนวัตกรรมที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพมาพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษามีขั้นตอนการปฏิบัติมีการประชุม วางแผนการนําความรู้หรือทักษะมาใช้
2. ผู้บริหารสถานศึกษา ครูมีการปฏิบัติจริงตามแนวทาง หรือขั้นตอนที่กําหนด มีการติดตามการประเมินผล ตามวัตถุประสงค์และเป้าหมายที่กําหนด
3. ผู้บริหารสถานศึกษา มีรายงานผลการใช้วัตกรรมการบริหารและนําผลไปปรับปรุง และเกิดผลดีเป็นแบบอย่างได้
1. โรงเรียนบ้านฝั่งแดง (พระเทพวรมุนีอุปถัมภ์) มีคู่มือการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษาที่เกิดจากการนําความรู้ ทักษะ ที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพของผู้บริหารสถานศึกษา มาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา และใช้ได้จริงส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครูและสถานศึกษา มีผลการดําเนินงานเป็นไปตามมาตรฐานการศึกษาที่สถานศึกษากาหนดไว้ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 80
2. ผู้บริหารสถานศึกษา มีรายงานผลการใช้นวัตกรรมการบริหารและนําผลไปปรับปรุงปีการศึกษาละ 1 ครั้ง (รายงานผลการใช้นวัตกรรม)
3. ผลการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียน ครู ผู้ปกครอง และชุมชน ที่มีต่อการนําความรู้ ทักษะที่ได้จากการพัฒนาตนเองและวิชาชีพของผู้อำนวยการสถานศึกษามาใช้ในการพัฒนาการบริหารจัดการสถานศึกษา ที่ส่งผลต่อคุณภาพผู้เรียน ครู และสถานศึกษาไม่น้อยกว่าร้อยละ 80 (รายงานผลการประเมินความพึงพอใจต่อการบริหารจัดการสถานศึกษา)